คุนหมิงเมืองเอก มณฑลยูนนาน


มณฑลยูนนาน เป็นมณฑลชายแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 394,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 4.1%ของพื้นที่ทั้งประเทศ (ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศจีน) ด้านตะวันออกติดกับมณฑลกุ้ยโจวและเขตปกครองตนเองมณฑลกว่างซี ด้านเหนือมีแม่น้ำจินซาเจียงกั้นคนละฟากกับมณฑลซื่อชวน ด้านตะวันตกเฉียงเหนือเชื่อมต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต ด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า ด้านใต้ติดกับประเทศลาวและเวียดนาม รวมทั้งสิ้นมีพรมแดนติดต่อถึงกันเป็นระยะทางยาว 4,060 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ

พื้นที่ทางตอนเหนือสูง ส่วนทางตอนใต้ต่ำ ความสูงต่ำต่างกันมาก ด้านใต้สูงราว 1,500-2,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนด้านเหนือสูงประมาณ 3,000-4,000 เมตร ยอดเขาข่าเก๋อป๋อแห่งทิวเขาหิมะเหมยหลี่ สูงถึง 6,740 เมตร สูงที่สุดในยูนนาน และที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและท้าทายนักนิยมกีฬาไต่เขาจากทั่วโลก

ทรัพยากร

ยูนนาน เป็นมณฑลที่มีความหลากหลายของพืชไม้นานาพันธุ์ของประเทศจีน พืชชั้นสูงมีถึง 18,000 ชนิดมากเกินครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศที่มีอยู่เกือบ 30,000 ชนิด โดยไม่เพียงแต่มีพืชพันธุ์ของเขตร้อน เขตร้อนแถบเอเซีย เขตอบอุ่น หรือในเขตหนาวเท่านั้น ยังมีพันธุ์ไม้โบราณ รวมถึงมีการเพาะปลูกพืชพันธุ์ดีที่นำเข้ามาจากต่างประเทศอีกด้วย

ทรัพยากรน้ำ - ในแต่ละปีจะมีปริมาณการไหลของน้ำถึง 200,000 ลูกบาศก์เมตร เป็น 3 เท่าของแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) จึงกลายเป็นแหล่งที่มีความได้เปรียบจากการใช้พลังงานน้ำที่ใหญ่ที่สุด

ทรัพยากรแร่ - ปัจจุบันพบว่ามีแร่ธาตุที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งสิ้น 150 ชนิด เป็น 93%ของแร่ธาตุที่พบทั้งประเทศ ที่มีการสำรวจและมีสำรองอยู่ 86 ชนิด และมีแหล่งขุดแร่อยู่ทั้งสิ้น 2,700 แห่ง โดยมีแร่ที่เป็นที่ต้องการติดอันดับหนึ่งของประเทศ เช่น สังกะสี ตะกั่ว ดีบุก เป็นต้น

ประชากร

จากการสำรวจในปี 1998 หยุนหนันมีประชากรทั้งสิ้น 41.44 ล้านคน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มอยู่ที่ 12.10% โดยเพศชายจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65.1 ปี และเพศหญิง 67.7 ปี โดยเป็นมณฑลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมีถึง 25 ชนชาติ จากทั้งสิ้น เช่น ชาวไท แมนจู มองโกล ทิเบต ไป๋ จ้วง เป็นต้น ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน 38.07% จากประชากรทั้งมณฑล โดยชนกลุ่มน้อยทั้ง 20 กว่ากลุ่มนี้ ต่างมีจำนวนประชากรเกินกว่า 8,000 คนทั้งสิ้น

เศรษฐกิจ

ค่าจีดีพีของปี2001 ทะลุถึง 206,000 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นราว 6.5% และมีอัตราส่วนระหว่างภาคการเกษตรต่อภาคอุตสาหกรรมต่อภาคการบริการเป็น 22.8 : 46.2 : 31.1

อุตสาหกรรมหลัก – ผลิตยาสูบ, อุตสาหกรรมเหมืองแร่, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว

กล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของหยุนหนันเป็นกิจกรรมหลักที่นำรายได้มาสู่มณฑลตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา นำเศรษฐกิจเจริญเติบโตไปอย่างรุดหน้า เนื่องจากเป็นตัวจักรสำคัญของการผลิตในภาคบริการ โดยในปี 2000 ทำรายได้รวมเป็นสัดส่วนเท่ากับ 10.8% ของจีดีพี นำเงินตราต่างประเทศเข้ามาได้ถึง 28.8% ของรายได้จากการส่งออกทั้งมณฑล และที่สำคัญเป็นหนทางทำมาหากินที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของชนกลุ่มน้อยที่ยากจนในมณฑล

  • มณฑลยูนนานมีชื่อเสียงอันดีงามว่าเป็น "ทางใต้เมฆสี" "แหล่งเกิดเขียวชอุ่ม" ณ ที่นี้มีภูเขา และแม่น้ำลำธารสวยสดงดงาม มีวิวทัศน์ธรรมชาติสวยวิจิตระการตา มีภูเขาสูงที่เต็มไปด้วยหิมะตลอดปีในซีกโลกเหนือ มีป่าดึกดำบรรพ์อันหนาทึบ มีหุบเขาอันลึกลับและอันตราย มีสิ่งมหัสจรรย์ป่าหิน ถ้ำหิน และถ้ำหินย้อยที่ก่อขึ้นจากการผันแปรของลักษณะภูมิประเทสคาร์สท์....สิ่งเหล่านี้ ทำให้ยูนนานกลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถานทางทัศนียภาพธรรมชาติ
  • มณฑลยูนนานมีชนชาติต่างๆ ดำรงชีวิตอยู่ทั้งหมด 26 ชนชาติ เป็นมณฑลที่มีชนชาติมากที่สุดในประเทศจีน ในระยะอันยาวนานแห่งการพัฒนาประวัติศาสตร์ ชนชาติต่างๆ ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมที่มีลักษณะพิเศษ และมีสีสรรค์หลากหลายของตนขึ้น 26 ชนชาติ 26 ภาษา ขนบประเพณี 26 ชนิด ความสำเร็จในการจัดการ จัดงานเอกชโปคุนหมิง 99 ประเทศจีน ได้ทำให้ยูนนานมีภาพพจน์ที่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยว
  • คุนหมิงมีประชากร 4 ล้านกว่าคน โดยมีประชากรประมาณ 1 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตตัวเมือง ประชากรส่วนใหญ่ในคุนหมิงเป็นชาวจีนฮั้น และใช้ภาษาท้องถิ่นซึ่งมีสำเนียงที่จัดอยู่ในกลุ่มแมนดารินใต้ แต่ภาษามาตรฐานกลางหรือภาษา Mandarin ก็เป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร และเข้าใจกันได้ทั่วไป
  • คุนหมิงเป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมหลักคือ ด้านการท่องเที่ยว ดังนั้น เรื่องการจัดระเบียบต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในเมืองจึงทำได้ดี มีสถานที่สำหรับเดินเล่นพักผ่อนหย่อมใจมากมายหลายแห่ง ทั้งภายในตัวเมืองและรอบๆ ตัวเมือง และยังมีค่าครองชีพที่นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่งหรือ เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
  • คุนหมิงเป็นสถานที่ตั้งของสถานกงสุลไทย ซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาด้านต่างๆ รวมทั้งมีการจัดกิจกรรม และพบปะสังสรรค์เป็นครั้งคราวกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในคุนหมิง

มหาวิทยาลัยในเมืองเทียนจิน

University of International Business and Economics

Beijing Union University

Capital Normal University

Capital University of Economics and Business

Beijing University of Chemical Technology

Beijing Broadcasting Institute

Beijing Language and Culture University