มหานครเซี่ยงไฮ้


ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตรงกึ่งกลางระหว่างส่วนเหนือและใต้ของแผ่นดินจีน ทิศเหนือติดบริเวณปากแม่น้ำแยงซี ทิศใต้เป็นอ่าวหังโจว ตะวันตกติดมณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ตะวันออกเป็นทะเลตงไห่ ใจกลางเมืองกว้างใหญ่การคมนาคมขนส่งสะดวกรวดเร็ว เป็นท่าเรือออกสู่ทะเลที่สำคัญของประเทศ และเป็นศูนย์กลางของสามเหลี่ยมเศรษฐกิจลุ่มน้ำแยงซี

รหัสโทรศัพท์ : 86-21

ภูมิประเทศ

พื้นที่ 6,340.5 ตร.กม. มีสัดส่วนเป็น 0.06 %ของพื้นที่ทั่วประเทศ ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นเทือกเขาเล็กๆ ยาวเหยียด เขตเมืองเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ยประมาณ 4 เมตร มีเกาะหนึ่งเกาะ ( เกาะฉงหมิง ) มีพื้นที่ 1,041 ตร.กม ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ อุดมด้วยแหล่งน้ำและทะเลสาบธรรมชาติกินพื้นที่กว่า 11 % ของพื้นที่ทั้งเมือง แหล่งน้ำสำคัญมาจากแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำหวงผู่เจียง มีความยาวทั้งสิ้น 113 กิโลเมตร นอกจากนี้แถบชายฝั่งทะเลตงไห่ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลหลายชนิดในจำนวนนี้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจถึง 20 กว่าชนิด

ภูมิอากาศ

อยู่ในเขตมรสุมร้อนเอเชียเหนือ แบ่งเป็น 4 ฤดูชัดเจน และมีปริมาณฝนและแสงแดดที่เพียงพอ ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงระยะเวลาค่อนข้างสั้น ฤดูหนาวและร้อนค่อนข้างยาวนาน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 17.6 องศาเซลเซียส ( ปี 2000 )

ประชากร

16.74 ล้าน ( มีนาคม 2001 ) ปี 2000 อายุขัยเฉลี่ยเท่ากับ 78.77 ปี เพศชาย 76.71 ปี เพศหญิง 80.8 ปี เทียบเท่าอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศพัฒนาแล้ว ชาวเซี่ยงไฮ้มาจากเชื้อชาติต่างๆ 39 กลุ่ม โดยมีเชื้อสายฮั่น 99.53% ของประชากรทั้งหมด อีกราว 0.4 % เป็นเชื้อชาติมุสลิมและแมนจูเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีมองโกเลีย ลาฮู่ หว่า เหมาหนาน จิงและผูหมี่

เศรษฐกิจ

ปี 2001 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของเมืองเซี่ยงไฮ้สูงถึง 495,080 ล้านหยวน ในปี 2000 ค่าจีดีพีเฉลี่ยต่อคนเท่ากับ 34,600 หยวน อัตราการเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยสูงขึ้น 10.2 % ต่อปี สัดส่วนภาคการผลิตทั้ง 3 ประเภทได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และกิจกรรมภาคบริการของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศคิดเป็น 1.7 : 47.6 : 50.7 ทั้งนี้รายได้จากภาคการเงินของเมืองเซี่ยงไฮ้ในปี 2001 สูงถึง 62,020 ล้านหยวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24.6 %

อุตสาหกรรม

ตลาดแรงงานขนาดใหญ่และมีทักษะสูง ฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่กว้างขวาง ความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตที่สืบทอดมาเป็นประเพณี การคมนาคมและเครื่องอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร ล้วนหนุนส่งให้เซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ การจัดตั้งทางอุตสาหกรรมเหล่านี้ ได้สร้างสินค้าทุนและสินค้าบริโภคหลากหลายชนิด

มูลค่ารวมอุตสาหกรรมที่เป็นกิจการของรัฐบาลและที่รัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเซี่ยงไฮ้ในปี 2000 สูงถึง 317,748 ล้านหยวน คิดเป็น 45.9 %ของกิจการอุตสาหกรรมทั้งหมดในเมือง ทั้งนี้อุตสาหกรรมหลักสำคัญคืออุตสาหกรรมผลิตรถยนต์มีมูลค่าสูงถึง 329,200 ล้านหยวน คิดเป็น 53.6 % ของอุตสาหกรรมทุกประเภทในเซี่ยงไฮ้ อุตสาหกรรมอื่นๆเช่น ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่มีรากฐานดียังเป็นฐานรองรับการผลิตพลาสติก เส้นใยสังเคราะห์และสินค้าอื่นๆ นอกจากนี้ภาคการผลิตสิ่งทอ อุปกรณ์โทรคมนาคม การติดตั้งและผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมเหล็กตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านยังเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญอีกด้วย

  • ในยุคแห่งความรุ่งเรืองในอดีด เซี่ยงไฮ้ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "นครปารีสแห่งตะวันออก" มหานครเซี่ยงไฮ้ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำหวงผู่ (Huangpu) ลำน้ำหวงผู่เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงมหานครนี้มีความยาว 49 ไมล์ ส่วนตอนบนของแม่น้ำสายนี้ยาว 19 ไมล์ ไหลบรรจบกับแม่น้ำหยางซือซึ่งจะไหลลงสู่ทะเล (คำว่า เซี่ยงไฮ้ แปลว่า ตอนบนของแม่น้ำจากทะเล) ทั้งคนท้องถิ่นและคนที่มาท่องเที่ยวเมืองแห่งนี้มีความเห็นตรงกันคือ "เหริน ไท่ ตัว" คือเมืองนี้มีคนมากเกินไป เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน และเป็นเมืองที่มีความเป็นเอกเทศสูง ชาวเซี่ยงไฮ้พูดภาษาจีนแบบเซี่ยงไฮ้ซึ่งคนในพื้นที่อื่นฟังไม่เข้าใจ
  • ตามลักษณะการปกครองแล้ว เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ไม่ขึ้นต่อมณฑลใดๆ ทั้งสิ้น และมีอำเภอรอบนอกอยู่ 10 อำเภอ และมีเมืองในเขตอำเภอต่างๆ 12 เมือง มหานครแห่งนี้มีประชากรกว่า 13 ล้านคน ตัวเมืองกินพื้นที่ประมาณ 375 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 8 ล้านคน เซี่ยงไฮ้ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าตั้งแต่ ปี ค.ศ. 960 และเจริญขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในศตวรรษต่อจากนั้นมา จนกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ ซึ่งมีบริการทุกอย่างตั้งแต่ โรงเหล้า วัด ร้านค้า สถานศึกษา และคลังสินค้า ความมั่งคั่งนี้เองที่เป็นเครื่องล่อใจให้ถูกโจมตีจากญี่ปุ่น หลังจากที่ถูกโจมตีอยู่หลายครั้งหลายหนได้มีการสร้างกำแพงป้องกันการจู่โจม โดยล้อมรอบเขตเมืองกำแพงนี้คงสภาพอยู่จนปี ค.ศ. 1912
  • เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่มีศักยภาพสูงในด้านการก่อสร้าง ระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ จึงตกเป็นเป้าสำคัญของอำนาจจักรวรรดินิยม สนธิสัญญาหนานจิง อันเป็นผลจากความปราชัยของจีนในสงครามฝิ่น (ค.ศ. 1840 - 1842) กำหนดให้จีนเปิดท่าเซี่ยงไฮ้ให้เรือต่างชาติเข้าเทียบ กลายเป็นท่าเรือนานาชาติ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์การเมืองโลกเป็นอย่างมาก

มหาวิทยาลัยในเมืองเทียนจิน

Shanghai Normal University

Shanghai University of Finance and Economics

  Donghua University

  Shanghai International Studies University